สำหรับใครที่กำลังจะเริ่มทำ หรือ เริ่มทำ SEO ไปแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะวัดผลการทำการตลาดอย่างไร รู้หรือไม่ว่าหากเราทำการตลาดไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำการวัดผล เราก็จะไม่มีทางรู้ว่าที่เราทำไปผลตอบรับเป็นอย่างไร จนกว่าเราจะดูผลที่ได้จากการทำการตลาด บทความนี้เลยจะมาแนะนำเครื่องมือที่ช่วยในการวัดผลการตลาดอย่าง Google Search Console คือ เครื่องมือฟรีของกูเกิ้ลที่จะช่วยวัดผลการทำการตลาดของคุณ มารู้จักเครื่องมือตัวนี้ให้ดีขึ้นกันดีกว่า ว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ไปอ่านในบทความกันเลย!!!
Highlight Search Console ที่ต้องรู้!!!
- Google Search Console คืออะไร?
- มีประโยชน์ในการทำการตลาดอย่างไร?
- วิธีการติดตั้งGoogle Search Console
- เมนูต่างๆใช้ทำอะไรได้บ้าง?
Google Search Console คือ อะไร?
หลายๆคนอาจจะคุ้นเคยกับชื่อ Google Webmaster Tools มาก่อน ซึ่งจริงๆแล้วคือตัวเดียวกันกับ Google Search Console ที่ได้เปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือฟรีของกูเกิ้ลที่เปิดให้เราสามารถใช้งานได้ ตัวช่วยในการทำการตลาด ดูแลเว็บไซต์ ติดตามผล ตรวจสอบผลการทำการตลาดของเว็บไซต์ ที่เราได้ทำการตลาดไปว่าผลตอบรับเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการทำการตลาดบน Google search หรือ การทำ SEO นั้นเอง
มีประโยชน์ในการทำการตลาดอย่างไร?
เครื่องมือแต่ละชนิดก็จะมีหน้าที่ และ ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป อย่างที่ได้บอกไปด้านบนว่า Search Console เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลเว็บไซต์ และ แสดงผลการทำการตลาด แต่จริงๆแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น
- เพิ่มโอกาสติดหน้าหนึ่งGoogleนานขึ้น นั้นจะทำให้เว็บไซต์เชื่อมต่อกับกูเกิ้ลได้ง่าย ส่งผลให้มีการเก็บข้อมูลในการทำ Index ได้บ่อบขึ้น ทำให้กูเกิ้ลคิดว่าเว็บคุณกลายเป็นเว็บไซต์คุณภาพ
- ทราบข้อมูลของคนที่เข้าเว็บไซต์ เนื่องจากสามารถตรวจสอบผลการทำการตลาดได้ ทำให้ทราบข้อมูลอย่างเช่น เว็บไซต์ที่ลิ้งค์กลับมาหาเรา , จำนวนความถี่ของ Keyword ที่เว็บไซต์ของเราปรากฎ
- ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำSEO เพราะการทำ SEO เป็นการทำการตลาดจากการค้นหาบนกูเกิ้ล นั้นทำให้เมื่อเราทราบผลการทำSEO หรือ ข้อมูลคนที่เข้าเว็บไซต์ จะทำให้เราสามารถนำไปปรับปรุงการทำSEO ให้ดีขึ้นได้
- มีการแจ้งเตือนอยู่สม่ำเสมอ เพราะเราได้ทำการเชื่อมต่อบัญชีของกูเกิ้ลก่อนที่จะใช้งาน ทำให้เมื่อเกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นการสแปม Keyword การแสดงผลของเว็บไซต์ที่ผิดปกติ ปัญหาการอัพเดตข้อมูล รวมถึงปัญหาอื่นๆ จะมีการแจ้งให้ทราบบนกูเกิ้ล
วิธีการติดตั้ง Google Search Console
ก่อนที่เราจะไปรู้จักวิธีการติดตั้ง Search Console ก่อนอื่นเราควรที่จะทำการสมัครเพื่อใช้งานซึ่งง่ายมาก การสมัครเข้าใช้งานจะต้องอาศัยอีเมลที่เป็นบัญชีของกูเกิ้ล หรือ Gmail โดยให้เข้าไปที่เว็บไซต์ Search Console และ กดเริ่มให้งาน แค่นี้คุณก็สามารถเริ่มใช้งานได้แล้ว จากนั้นให้คุณทำการติดตั้ง Search Console และ สมัครการใช้งานด้วยการล็อคอินด้วยบัญชี Google
1.เลือก property
เมื่อเข้ามายังเว็บไซต์ Google Search Console และ กดเริ่มใช้งาน จะปรากฎหน้าต่างในการเลือก property หรือ ประเภทของการจัดการเว็บไซต์ โดยจะมีให้เลือกทั้ง
- Domain เป็นการจัดการรูปแบบของ URl ทั้งหมด โดยการใส่โดเมนของเว็บไซต์ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งหมดในครั้งเดียว
- URL prefix เป็นการเลือกจัดการเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้ โดยใส่ทีละ URL เช่น ส่วนที่เป็น sub domain หรือ ส่วนอื่นๆ
2.ยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บ Verify URL
เมื่อคุณใส่ URL ไปแล้ว คุณจะต้องทำการยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ โดยจะปรากฎหน้าต่างของ Verify ownership ขึ้นมาให้คุณเข้าไปยืนยัน โดยเมื่อยืนยันแล้วให้กดที่ปุ่ม Verify แต่จะต้องทำการยืนยันให้ครบตามจำนวนรูปแบบที่คุณเพิ่มตอนเลือก property เช่น ถ้าหากเลือกไป 4 URL แสดงว่าจะต้องทำการยืนยัน 4 รอบ
- Domain เป็นการเพิ่ม DNS record (ลำดับการตั้งชื่อของคอมพิวเตอร์) ไปยังโฮสต์ของเว็บไซต์คุณ แล้วกลับมายืนยันที่หน้า Search Console > เลือกที่ Verify
- URL prefix สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การอัปโหลด HTML ไปยัง root directory (ระบบการจัดเก็บข้อมูล) บนเว็บไซต์ของคุณ และ การเพิ่ม HTML meta tag ในส่วนหัวของเว็บไซต์
นอกจากนั้นหากคุณได้มีการติดตั้ง Google Analytics หรือ Google Tag Manager ก็สามารถยืนยันผ่านได้โดยอัตโนมัติ
3.การติดตั้ง Search Console
จากนั้นเราจะทำการติดตั้ง Search Console ซึ่งเราสามารถติดตั้งได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น
- การติดตั้งด้วยการใส่ HTML ที่หลังบ้านของเว็บไซต์
- การติดตั้งด้วย Plug-in เช่น Insert Headers and footers , Yoast SEO
เมนูต่างๆใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เมื่อเราทำการติดตั้ง Search Console ลงเรียบร้อย เรามารู้จักหน้าตา และ เมนูเบื้องต้น สำหรับการใช้งานกันดีกว่า
ดูภาพรวม
มารู้จักเมนูหลักที่จะช่วยในการทำให้เห็นภาพรวมของเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งจะมีด้วยกัน 3 ตัวหลักๆ คือ Overview , Performance และ URL Inspection
- 1. Overview เป็นการดูภาพรวมการรายงานผลของเว็บไซต์ ผ่านรูปแบบของกราฟแสดงผล ซึ่งจะแสดงผลต่างๆ เช่น ผลการดำเนินการของเว็บไซต์ การเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์
- 2. Performance การแสดงข้อมูลประสิทธิภาพ ผลการทำงานของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคลิก จำนวนการเห็น ค่าเฉลี่ย คีย์เวิร์ดที่นำคนเข้ามาสู่เว็บไซต์ และ อื่นๆ ซึ่งสามารถเลือกเดือนเพื่อทำการเปรียบเทียบผลย้อนหลังได้ ทำให้สามารถนำไปใช้ในกานวิเคราะห์ ปรับปรุงเนื้อหาต่างๆได้
อีกทั้งยังจะมีส่วนของ Filter สำหรับการกรองเพื่อใช้ในการดูข้อมูล
- Search type เป็นประเภทของการค้นหา ที่จะทำให้เราสามารถใช้แยกประเภทการค้นหาต่างๆ ได้ทั้ง Web , Image , Video , News ซึ่งคุณสามารถเลือกประเภทที่ต้องการได้
- Date Range Filter สามารถเลือกช่วงเวลาวันที่ต้องการในการเปรียบเทียบได้ ทั้ง 7วัน , 28วัน , 3เดือน , 6เดือน , 12เดือน , 16เดือน และ แบบที่ระบุวันที่เอง
- Dimension เป็นส่วนที่อยู่ติดกับ Filter (ปุ่ม + NEW) ใช้ในการเลือกข้อมูลที่เราต้องการทราบ ทั้ง Queries(คีย์เวิร์ด) , Pages(หน้าที่มีคนเข้าไป) , Countries(ประเทศของผู้ใช้งาน) , Devices(การใช้งานผ่านอุปกรณ์) , Search Appearance(ลักษณะที่แสดงในการค้นหา) และ Dates(วันที่)
Metrics ของกราฟแสดงข้อมูล (Performance)
เป็นส่วนที่ค่อนข้างจะสำคัญในการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของเว็บไซต์ โดยที่เราสามารถที่จะดู Performance ของเว็บไซต์ได้
–Click (การคลิก) จะแสดงการคลิกของเว็บไซต์ บนหน้าการค้นหาของกูเกิ้ล แต่ไม่รวมกับการคลิกของ Google Ads
–Impressions (การแสดงผล) การแสดงจำนวนครั้งที่เว็บไซต์ปรากฎให้เห็น แต่ไม่รวมกับ Google Ads
–CTR (อัตราการคลิก) การแสดงผลของอัตราของการคลิก / การแสดงผล x 100 ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์(%)
–Position (ตำแหน่งที่แสดง) อันดับเฉลี่ยของเว็บไซต์ของคุณที่ปรากฎบนการค้นหา เช่น คุณติดอันดับการค้นหาที่อันดับ 3 และ 5 แสดงว่าอันดับเฉลี่ยของคุณจะอยู่ที่อันดับ 4
- 3. URL Inspection สามารถดูได้ว่า URL ของเว็บไซต์ถูก Google เห็นหรือไม่ หากกูเกิ้ลไม่เห็นแสดงว่าเว็บไซต์ของคุณควรเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ มีจุดที่ต้องแก้ไข
Index
การที่เราจะรู้ได้ว่าเว็บไซต์ของเรามีการวัดและตรวจสอบเว็บไซต์เป็นอย่างไรบ้าง เสมือนการรายงานผล ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 ตัวหลักๆที่สำคัญ คือ Coverage และ Sitemaps
- 1. Coverage เป็นตัวที่ใช้ในการตรวจสอบทุกหน้าของเว็บไซต์ ว่าหน้าไหนที่ต้องแก้ไข หรือ มีข้อผิดพลาด
- 2. Sitemaps เป็นตัวบอกว่าเว็บไซต์ของเรามี URL อะไรบ้าง มีเนื้อหาอะไร หรือ เชื่อมต่อกับอะไร
Experience
เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพต่างๆบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งสามารถวัดได้หลากหลาย จะมีตัวสำคัญหลักๆ 3 ตัว คือ Page Experience , Core web vitals และ Mobile Usability
- 1. Page Experience ใช้เพื่อบอกความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้ใช้ต่อหน้าเพจนั้นๆ
- 2. Core web vitals ใช้วัด Page Experience ของแต่ละหน้าเว็บไซต์ ว่าผู้ใช้งานรู้สึกอย่างไร หรือ มีประสบการณ์อย่างไร
- 3. Mobile Usability ใช้ดูว่าหน้าเว็บไซต์ไหนที่ไม่รองรับการใช้งาน ซึ่งการที่ไม่รองรับการใช้งานอุปกรณ์จะส่งผลต่อการทำ SEO ร่วมด้วย
ส่วนตัวอื่นๆ จะเป็นตัวในการบอกสถานะ สินค้า และ ข้อมูลประเภทต่างๆ บนเว็บไซต์ ทั้ง Breadcrumbs , FAQ , Product , Review snippets , Event เป็นต้น
Security & Manual Actions
ส่วนของความปลอดภัยในการจัดการเว็บไซต์ จะมี 2 ตัว คือ
- 1. Manual Actions การรายงานปัญหาจากเจ้าหน้าที่
- 2. Security Issues หากเว็บไซต์ของคุณมีปัญหา เช่น กรณีถูกแฮ็ก จะมีการแจ้งปัญหา และ ให้คำแนะนำ
ทำการตลาดและวิเคราะห์กับเราดีอย่างไร?
เราเป็นบริษัททางด้าน Digital Marketing โดยเฉพาะ ที่ให้บริการในด้านของการทำ SEM SEO รวมทั้ง การยิงAds และ รูปแบบการทำการตลาดรูปแบบอื่นๆ อีกทั้งเรายังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์และทำความเข้าใจธุรกิจตลอดจนการวางแผน และ ออกแบบรูปแบบการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณพร้อมทีม Support ที่ช่วยเหลือธุรกิจของคุณ ให้สามารถทำยอดขาย และ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
“เราพร้อมดูแลใส่ใจธุรกิจของคุณ ให้เหมือนกับว่าเป็นธุรกิจของเราเอง”
สามารถติดต่อสอบถาม bemyfriend ทางช่องทางอื่นๆได้ที่
Facebook : Bemyfriend.agency